Digital Thermostat (เทอร์โมสตัท) และ Temperature Controller (เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ โดยอุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้จะมีลักษณะ การใช้งาน รวมไปถึงความเหมาะสมของอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจะมาดูกันว่าทั้งสองชนิดนั้นมีความต่างกันอย่างไร
Thermostat คืออะไร
เทอร์โมสตัท คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิในห้อง หรือสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในระบบทำความร้อนและระบบทำความเย็น เช่น ระบบทำความร้อนในอาคาร ระบบทำความร้อนส่วนกลาง เครื่องปรับอากาศ ระบบ HVAC เครื่องทำน้ำอุ่น อุปกรณ์ในครัว และตู้เพาะเชื้อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เหมาะสำหรับการควบคุมอุณหภูมิห้องในย่านอุณหภูมิ 0-50 °C (TS-050) , 0-90°C (TS-090) มีให้เลือกใช้ทั้งแบบ Analog และแบบ Digital
การทำงานของ Thermostat มีหลักการพื้นฐาน คือ เมื่อมีสัญญาณถูกส่งเข้ามาในเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดค่าอุณหภูมิ หรือที่เรียกว่า อินพุช (Input) ตัวเซ็นเซอร์ระบบจะทำการตรวจจับค่าที่ได้ แล้วส่งไปเปรียบเทียบค่าที่ได้กับค่าที่ต้องการแล้วจึงทำการประมวลผลออกมา ซึ่งสามารถตั้งค่า Set Point อุณหภูมิโดยมีค่าย่านเท่ากับ 0-80°C และความชื้นกับ 0-100%RH
Temperature Controller คือ
เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล คือ ตัวควบคุมและปรับอุณหภูมิตามค่าที่กำหนดไว้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ห้องปฎิบัติการ หรือห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ด้านระบบการทำงาน Temperature Controller จะทำงานด้วยการรับเซ็นเซอร์อุณหภูมิเป็น input อินพุตและทำการส่งข้อมูลที่วัดค่าได้ไปประมวลผลที่หน้าจอ และส่งเอาต์พุตออกไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมต่างๆ เช่น เครื่องทำความร้อนหรือเครื่องทำความเย็น เป็นต้น
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น นั้นมีหลายประเภท รวมถึงตัวควบคุมแบบเปิด/ปิด ตัวควบคุม PID แบบปรับอัตโนมัติ และตัวควบคุมแบบมัลติลูป ซึ่งแต่ละประเภทมีความซับซ้อนและความแม่นยำที่แตกต่างกัน ตัวควบคุมเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหาร สารเคมี และสถานพยาบาล รวมถึงในเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ในปัจจุบัน Temperature Controller แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ แบบ Analog Controller และ Digital Temperature Controller
สรุปความแตกต่างของ Thermostat กับ Temperature Controller
ทั้ง Digital Thermostat และ Temperature Controller ต่างก็เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ แต่มีความแตกต่างในลักษณะการใช้งานและการปรับควบคุมอุณหภูมิตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
ความแตกต่าง |
Thermostat (เทอร์โมสตัท) | Temperature Controller (เครื่องควบคุมอุณหภูมิ) |
การควบคุม
|
เหมาะกับการใช้งานในด้านการควบคุมอุณหภูมิเย็นย่านต่ำ 0-80% |
เหมาะสำหรับควบคุมอุณหภูมิติดลบจนถึงอุณหภูมิที่สูง |
พื้นที่ของการติดตั้ง |
ติดตั้งในพื้นที่อาศัย หรือ สำนักงาน |
มักใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือ งานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิอย่างละเอียด |
ระบบควบคุมการทำงาน |
ทำงานโดยเปิดหรือปิดเครื่องทำความร้อนหรือเย็น เพื่อปรับอุณหภูมิให้ถูกต้องตามที่กำหนด เมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงจากค่าที่ตั้งไว้ |
ใช้เซ็นเซอร์อุณหภูมิแบบพิเศษเพื่อวัดอุณหภูมิและระบบควบคุมการทำงานของเครื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการทำงานได้หลากหลายโหมด เพื่อให้ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำที่สุด |
งานที่ใช้หรืออุตสาหกรรมที่เหมาะสม |
บ้าน อพาร์ทเมนต์ หรือ สำนักงาน |
โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เป็นต้น |
ความซับซ้อนในการใช้งาน | การตั้งค่า Set Point ไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย |
การตั้งค่า Set Point ค่อนข้างซับซ้อน สามารถปรับแต่งได้มากกว่า เพื่อการใช้งานที่ละเอียดและแม่นยำ |
สรุป
Thermostat มักจะใช้ในการควบคุมอุณหภูมิในสถานที่อาศัยหรือการใช้งานทั่วไป ในขณะที่ Temperature Controller มักจะใช้ในงานอุตสาหกรรมหรืองานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิอย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการควบคุมอุณหภูมิของ Temperature Controller มักมีความซับซ้อนและความสามารถในการปรับแต่ง เพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำมากกว่า Thermostat นั่นเอง
สนใจ เทอร์โมสตัท และ เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล สามารถติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่นี่เลย >>> Line@ : Sangchaigroup , Facebook : Sangchaigroup หรือเบอร์โทรศัพท์ 02-446-5656 ต่อ 3210