คอมเพรสเซอร์ สำคัญอย่างไรในระบบปรับอากาศและทำความเย็น

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) คืออะไร ?

คอมเพรสเซอร์  คือ อุปกรณ์ประเภทหนึ่ง ที่เป็นส่วนสำคัญในระบบปรับอากาศ และทำความเย็น โดยมีหน้าที่ ดูดและอัด สารทำความเย็นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ โดยจะดูดสารทำความเย็น ในสถานะก๊าซ ซึ่งระเหยจากคอย์ลเย็น (Evaporator) มาอัดทำให้ความดัน ของสารทำความเย็นสูงขึ้น และเมื่อความดันสูงขึ้น ก็จะทำให้จุดเดือดของสารทำความเย็นสูง เพียงพอที่จะกลั่นตัวในสภาพของเหลว ในคอนเดนเซอร์และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

วงจรระบบทำความเย็นแบบอัดไอ

วงจรระบบทำความเย็น

จุดสำคัญที่ต้องระวัง คือ คอมเพรสเซอร์ถูกออกแบบมา ให้อัดสารทำความเย็น ในสถานะก๊าซเท่านั้น การอัดสถานะของเหลว อาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเสียหายได้

จากบทความที่แล้ว เรามีการเกริ่นนำเกี่ยวกับ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบทำความเย็น มาบ้างแล้ว วันนี้ลองมาทำความรู้ กับคอมเพรสเซอร์เพิ่มเติมกันดูนะครับ

คอมเพรสเซอร์มีกี่ประเภท

เราอาจะแบ่งคอมเพรสเซอร์โดยจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่ใกล้ตัวเราแบบง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. คอมเพรสเซอร์ชนิดปิดสนิท (Hermetic Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ผู้ผลิตออกแบบ มีลักษณะเชื่อมปิดสนิท โดยหลักการถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถซ่อมได้ เพราะส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กแผ่นขึ้นรูป หรือม้วนเป็นทรงกระบอก ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

คอมเพรสเซอร์ลูกสูบชนิดปิดสนิท (Reciprocating)

นิยมนำไปใช้ในตู้เย็น ตู้แช่ เป็นหลัก เราจะไม่พบเห็นคอมเพรสเซอร์แบบนี้ในเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ ๆ (ฉลากเบอร์ 5)

คอมเพรสเซอร์โรตารีชนิดปิดสนิท (Rotary)

นิยมนำไปใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตามบ้านเรือนทั่วไปที่มี รวมถึงเครื่องปรับอากาศขนาดกลาง การทำงานมีเสียงเงียบ ประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) มีหลากหลายน้ำยาให้เลือกใช้ (R22, R410A, R32)

คอมเพรสเซอร์สโครลชนิดปิดสนิท (Scroll)

นิยมนำไปใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดกลาง ที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ถึงขนาดใหญ่ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทดแทน คอมเพรสเซอร์ชนิดกึ่งปิดสนิท (Semi-Hermetic Compressor) เพราะคอมเพรสเซอร์สโครล มีประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา เสียงเงียบ และมีหลายหลายน้ำยาให้เลือกใช้ เช่น งานปรับอากาศ R22, R407C, R134a, R410A, R32 หรือ งานเครื่องทำความเย็น R22, R404A, R407F, R448A

2. คอมเพรสเซอร์ชนิดกึ่งปิดสนิท (Semi-Hermetic Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ผู้ผลิต ออกแบบให้มีลักษณะที่สามารถถอดประกอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหายได้ โครงสร้างเป็นเหล็กหล่อ ส่วนมากมักจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก

คอมเพรสเซอร์ลูกสูบชนิดกึ่งปิดสนิท (Reciprocating)

ลักษณะรูปทรงของ คอมเพรสเซอร์ลูกสูบชนิดกึ่งปิดสนิท จะมีแตกต่างจากคอมเพรสเซอร์ลูกสูบชนิดปิดสนิทอย่างชัดเจน โดยผู้ผลิตจะออกแบบให้ สามารถแยกถอดประกอบชุดมอเตอร์ หรือชุดห้องอัดแต่จะชุดได้อย่างอิสระ เช่น หากมีชิ้นส่วนเสียหายภายใน ลูกค้าสามารถส่งคอมเพรสเซอร์ไปซ่อมที่ศูนย์ซ่อมบำรุง โดยทางศูนย์จะทำการเปลี่ยน เฉพาะชิ้นส่วนที่เสียหายให้ แต่การขนส่ง หรือถอดออกจากระบบ อาจจะทำได้ลำบาก เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักสูง

เราจะยังพบเห็นคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ได้ ในระบบทำความเย็น ( Supermarket, Hypermarket ) หรือเครื่องทำน้ำเย็น ( Chiller ) แต่ในปัจจุบันคอมเพรสเซอร์ Scroll ชนิดปิดสนิทจะเป็นที่นิยมกว่า เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง และขนาดเล็กกว่า

คอมเพรสเซอร์สกรู (Screw)

นิยมนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมความเย็น (ห้องเย็นขนาดใหญ่, ศูนย์กระจายสินค้า) หรืองานเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) สำหรับอาคาร หอประชุม ขนาดใหญ่

คอมเพรสเซอร์สำคัญ อย่างไร?

หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์ ก็เหมือนเป็น หัวใจสำคัญของเครื่องปรับอากาศ เป็นส่วนประกอบที่รับผิดชอบในการใสารทำความเย็นที่ทำให้ของเหลวถ่ายเทความร้อนไหลเวียนผ่านระบบ

คอมเพรสเซอร์ตั้งอยู่ในตู้ ด้านนอกของระบบ HVAC และขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ของตัวเอง เมื่อคอมเพรสเซอร์เปิดขึ้น จะส่งสารทำความเย็น ที่เป็นก๊าซภายใต้แรงดันสูง สิ่งนี้ทำให้ก๊าซร้อนขึ้น และแรงดันที่เพิ่มขึ้น คือ สาเหตุที่ทำให้มันเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ระบบ โดยไปที่คอยล์ภายนอก เพื่อปล่อยความร้อนก่อน จากนั้นจึงเคลื่อนเข้าไปภายในอาคาร ซึ่งจะส่งแรงดันผ่านวาล์วขยายตัว และกลายเป็นของเหลวเย็น ในรูปแบบนี้ มันจะระเหยผ่านขดลวดในอาคาร และทำให้ภายในบ้านเย็นลง หากคอมเพรสเซอร์ใน AC ไม่ทำงาน AC จะไม่ระบายความร้อนใดๆ

แนะนำคอมเพรสเซอร์ สำหรับระบบทำความเย็นที่น่าสนใจ

1.COPELAND Scroll™ ZB 1 Phase

  • สามารถใช้ได้กับสารทำความเย็น R22 220-240V
  • น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัด
  • ความสามารถในการดึงอุณหภูมิได้ดี จึงทำความเย็นได้รวดเร็ว
  • มอเตอร์ 2HP

2.COPELAND Scroll™ ZB 3 Phase

  • สามารถใช้ได้กับสารทำความเย็น R22 380-420
  • น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัด
  • ความสามารถในการดึงอุณหภูมิได้ดี จึงทำความเย็นได้รวดเร็ว
  • มอเตอร์ 3.5HP

3.COPELAND Scroll™ ZF

  • สามารถใช้ได้กับสารทำความเย็น R404A
  • น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัด
  • สามารถทำงานได้โดยไร้เสียงรบกวน
  • มอเตอร์ 2HP

4.LG Compressor Rotary R22

  • สามารถใช้ได้กับสารทำความเย็น R22
  • น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัด
  • สามารถทำงานได้โดยไร้เสียงรบกวน
  • มอเตอร์ 2HP

5.LG Compressor Rotary R410A

  • สามารถใช้ได้กับสารทำความเย็น R410A
  • น้ำหนักเบาขนาดกะทัดรัด
  • สามารถทำงานได้โดยไร้เสียงรบกวน
  • มอเตอร์ 1HP

สรุป

คอมเพรสเซอร์ มีความสำคัญในระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนหัวใจหลัก โดยมีหน้าที่ ดูดและอัด สารทำความเย็น ให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ การที่เราได้ทราบถึงลักษณะของคอมเพรสเซอร์ชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

หากสนใจรายละเอียด เพิ่มเติม คอมเพรสเซอร์ สามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ หรือ โทร 02-446-5656 หรือ 061-747-1331

ข่าวสารและบทความแนะนำ